ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blog คำพิพากษาฎีกา ประเด็น ภาษาเขียนที่น่าสนใจ ^^ อัพเดท 23/12/53

รูปภาพของฉัน
ปรับปรุงเพื่อทำเป็นสารบัญครับ

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำพิพากษาฎีกา ชั่วโมงสุดท้าย สมัย 63

คำพิพากษาฎีกา ชั่วโมงสุดท้าย สมัย 63
อ.อุดม http://www.4shared.com/document/5TNKE5Uj/_online.html
อ.ธานี http://www.4shared.com/document/hfDS4ZaW/_online.html
อ.ชีพ http://www.4shared.com/document/Sa8tPVAS/_online.html
อ.ธานิศ http://www.4shared.com/document/ITgITnEn/_online.html

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สารบัญประมวลกฎหมายพิเศษอื่นๆ

สารบัญ พ.ร.บ. ล้มละลาย

สารบัญประมวลกฎหมายพยานหลักฐาน

สารบัญประมวลกฎหมายอาญา

สารบัญประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

สารบัญประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจที่ 52/2553 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 (น่าสนใจดีครับ)
http://www.facebook.com/note.php?note_id=300870956609782

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจที่ 4268/2552 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
http://www.facebook.com/note.php?note_id=298941086802769

สารบัญประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ทดสอบเพื่อใช้ในการจัดทำให้ค้นหาได้ง่ายๆ นะครับ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจที่ 3791/2551 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292(3) เดิม, 296 วรรคสอง
http://www.facebook.com/note.php?note_id=304282432935301

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

เรื่องที่ออกข้อสอบฟื้นฟูกิจการ (อัพเดท 7/3/54)

ฟื้นฟูกิจการ
เรื่องที่ออกข้อสอบ
1. การร้องขอฟื้นฟูกิจการ
                หลักเกณฑ์
                1) ผู้มิสิทธิยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ (มาตรา 90/2)
                2) ลักษณะของลูกหนี้ที่จะขอให้ฟื้นฟูกิจการ (90/3)
                3) ลักษณะของเจ้าหนี้ที่จะขอให้ฟื้นฟูกิจการ (90/4 (1))
                4) กรณีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ต้องได้รับความยินยอมให้ร้องขอฟื้นฟูกิจการ (มาตรา 90/4 วรรคท้าย)
                5) กรณีต้องห้ามขอฟื้นฟูกิจการ (มาตรา 90/5)
                6) ลักษณะคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ (มาตรา 90/6)
                7) การถอนคำร้องขอ (มาตรา 90/8)
                8) การไต่สวนคำร้องขอ (มาตรา 90/9)
                9) การยื่นคำคัดค้าน (มาตรา 90/9 วรรคสาม)
2. สภาวะพักชำระหนี้
3. ผู้ทำแผน
4. การขอรับชำระหนี้
5. แผนฟื้นฟูกิจการ
                5.1 การแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ
6. การพิจารณาให้ความเห็นชอบแผน
7. ผลของคำสั่งชอบด้วยแผน
                7.1 คำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนของศาลฎีกา

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

เพิ่มเติมรายละเอียด ฎีกาพระธรรมนูญเดือนกุมพาพันธ์

คำพิพากษาฎีกาที่  7651/2552



ป.อ. มาตรา 326, 328
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5), 26



------โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 ซึ่งตามมาตรา 328 การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 326 ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) มาด้วย แต่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดเพียงกรรมเดียวต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) และมาตรา 26
------โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328
------จำเลยให้การปฏิเสธ
------ระหว่างพิจารณา จ่าสิบตำรวจเสถียรผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
------ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
------โจทก์อุทธรณ์
------ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบมาตรา 326 จำคุก 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
------จำเลยฎีกา
------ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมโดยการโฆษณาด้วยการใช้เครื่องขยายเสียงกระจายเสียงป่าวประกาศ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ซึ่งตามมาตรา 328 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) มาด้วยก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเพียงกรรมเดียวต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลจังหวัด องค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนตามมาตรา 26 ดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้แล้วพิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) และมาตรา 26 และเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
------พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ โดยให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ




คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3977/2553



พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24(2), 25, 26
ป.วิ.พ. มาตรา 142(5), 246, 247, 290

------ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัดต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้นั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีโดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะซึ่งไม่อยู่ในอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
 

------คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 250,000 บาท แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยทั้งสองเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา
------ผู้ร้องยื่นคำร้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้
------โจทก์ จำเลยทั้งสอง และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่คัดค้าน
------ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์สินในส่วนของจำเลยที่ 1 ได้ แต่ในส่วนของจำเลยที่ 2 นั้น เนื่องจากผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 ไม่อาจขอเฉลี่ยทรัพย์สินในส่วนของจำเลยที่ 2 ได้ จึงให้ยกคำขอในส่วนนี้
------ผู้ร้องอุทธรณ์
------ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
------ผู้ร้องฎีกา
------ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่าผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แต่ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีโดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะซึ่งไม่อยู่ในอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
-------พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้องของผู้ร้องแล้วมีคำสั่งใหม่โดยให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลในชั้นนี้ให้เป็นพับ




คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1555 - 1558/2553



พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(4)

------โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ในวาระต่างๆ แยกเป็นรายสำนวนไป การพิจารณาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษานั้น ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นรายสำนวน แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสี่สำนวนเข้าด้วยกัน จนเป็นเหตุให้ทุนทรัพย์ที่รวมเข้าด้วยกันเกิน 300,000 บาท ก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าคดียังอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4)
 


------คดีทั้งสี่สำนวนนี้ศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสี่สำนวนว่า โจทก์ และเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งสี่สำนวนว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2
------สำนวนแรกโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 112,499.80 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 100,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์
------จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
------สำนวนที่สองโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 84,375 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
------จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
------สำนวนที่สามโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 78,749.80 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 70,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
------จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
------สำนวนที่สี่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 57,523.95 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 57,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
------จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
------ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เมื่อคดีทั้งหมดได้รวมการพิจารณาแล้ว ต้องเอาจำนวนเงินตามสัญญากู้ทุกฉบับมาคิดคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาท รวมเป็นทุนทรัพย์จำนวน 333,148.55 บาท เกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 จึงให้คืนคำฟ้องเพื่อให้โจทก์นำไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 192 วรรคสาม ให้จำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ และคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ แต่ให้เหลือไว้ไม่น้อยกว่า 200 บาท
------โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
------ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนคำฟ้องเพื่อให้โจทก์นำไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจเป็นการชอบหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินมาในฟ้องเดียวกันที่จะต้องรวมทุนทรัพย์ตามสัญญากู้ยืมเงินแต่ละฉบับเข้าด้วยกัน แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ในวาระต่างๆ แยกเป็นรายสำนวนไป การพิจารณาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษานั้น จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นรายสำนวน แม้ภายหลังศาลชั้นต้นจะสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสี่สำนวนเข้าด้วยกัน จนเป็นเหตุทำให้จำนวนทุนทรัพย์ที่รวมเข้าด้วยกันเกิน 300,000 บาท ก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าคดียังอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนคำฟ้องเพื่อให้โจทก์ไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น
------พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรับคดีโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ฎีกาน่าสนใจ วันที่ 25-26 กุมภาพันธ์

นล้มละลาย (เน้นดูฎีกาใหม่ๆ)

897/2517 น.114
594/2538 น.116
423/2518 น.118
2181/2535 น.120 (ออกเนติ)
1097/2539 น.146
2537/2552 น.150
1681/2552 น.151
3479/2529 น.159
2778/2552 น.160 มี 3 ประเด็น
2537/2534 น.167 อ่านเพื่อเอาเหตุผลตอบ
1915/2536 น.170 (ออกเนติ) ภาษาดี
8228/2547 น.180
3960/2546 น.193 (ออกเนติ) ภาษาดี
3017/2544 +1679/2551 น.195-196 แต่งโจทย์ได้
6722/2544 น.203 ภาษาดี
6519/2550 น.206
795/2553 น.211
1824/2536 น.212
2111/2551 น.217
3361/2549 + 809/2552 น.223-224 น่าสนใจ
1561/2537 น.232
912/2524 น.234
6464/2550 น.236
662/2526 น.242
6621/2528 น.246
1857/2541 262
382/2550 น.198

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ฎีกาน่าสนใจประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2554

เรื่องพยาน


8215/2550+3274/2553 น่าสนใจ !!


พระธรรมนูญศาลยุติธรรม


7651/ 2552
3977/ 2553
1555-1558/ 2553


23 ก.พ. 2554
ล้มละลาย (เทียบจูริสเล่ม ปี 54) ส่วนใหญ่จะเป็นฎีกาที่ยังไม่ได้ออกข้อสอบนะครับ
4732/2543 น.12
4286/2543 น.15
4082/2552 น.28 (จำภาษา)
3380/2533 น.33
2193/2550 น.35
5602/2552 น.37
588/2535 vs 1915/2536 (ออกเนติ)
212/2527 น.67
112/2553 น.69
1906/2551 น.72
5273/2544 น.73
5523/2552 น.74
2567/2543 น.88
5348/2551 น.94
2771/2549 , ท.20/2551 น.99
2964/2553 น.101


24 ก.พ 2554
3356/2526 เกี่ยวกับพยานบอกเล่าคดีอาญา
โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความ เพราะพนักงานสอบสวนไม่สามารถสอบสวนผู้เสียหายเป็นพยานได้ โจทก์อ้างส่งแต่คำให้การชั้นสอบสวนของพยานที่อ้างว่ารู้เห็นเหตุการณ์และจำหน้าคนร้านได้ ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า / คำตำรวจผู้จับก็มีแต่ว่าภริยาผู้เสียหายแจ้งให้จับจำเลยและเมื่อให้ดูตัว ผู้เสียหายก็ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายยิงผู้เสียหาย คำตำรวจผู้จับก็เป็นพยานบอกเล่า / แม้จำเลยให้การรับสารภาพต่อผู้จับ คำรับสารภาพก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธย่อมไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้
---(จูริสเขียน) อย่างไรก็ตาม ตามมาตรา 95/1 วรรคสอง ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่
(1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ
(2) มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลที่เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวกบเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น
ข้อสังเกต จะเห็นได้ว่าจูริสได้อ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 95/1  (พยานบอกเล่า หน้า 271 ถึง 279) มาใช้กับพยานบอกเล่าในคดีอาญาซึ่งทำให้ผู้อ่านอาจเกิดความสับสน แต่ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับพยานบอกเล่าในคดีอาญา หน้า 279 ว่า การรับฟังพยานบอกเล่าในคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับฟังพยานบอกเล่าไว้แล้ว แม้ตัวบทจะมีหลักเกณฑ์เดียวกัน แต่อาจจะทำให้ผู้อ่านอ้างมาตราผิดได้)


(จำ! ตัวบท ป.วิ.พ. มาตรา 95/1 วรรคสอง และ ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง นั้น ถ้าจำตัวบทไม่ได้ ให้จำคำที่เน้นตัวหนาที่ผู้เขียนเน้นไว้ให้เพื่อให้ได้คะแนนดี น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้, มีเหตุจำเป็น, มีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม)


ข้อสงสัย  ผู้เขียน เห็นว่า "แม้จำเลยให้การรับสารภาพต่อผู้จับ คำรับสารภาพก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า" การที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมน่าจะเป็นไปตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ซึ่งพออธิบายได้ดังนี้
1. ถ้าเป็นคำรับสารภาพว่าผู้ถูกจับเป็นผู้กระทำความผิด มาตรา 84 วรรคท้าย  บัญญัติว่า "ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้แก่พนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
2. แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือมาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ  แล้วแต่กรณี

--- จะเห็นได้ว่า การที่จำเลยให้การรับสารภาพ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3356/2526 นั้น ห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานโดยเด็ดขาด ศาลไม่อาจหยิบยกคำรับสารภาพในชั้นจับกุมว่าจำเลยได้กระทำความผิดมาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์เพื่อลงโทษจำเลยได้

---- และจะเห็นได้จาก จูริสหน้า 407 ที่กล่าวว่า คำบอกเล่าที่ขัดต่อผลประโยชน์ของตนเอง รับฟังได้ (ปรับตามข้อยกเว้นมาตรา 226/3 (1)  นั้น มีคำพิพากษาฎีกาที่ 226/2486  วินิจฉัยว่า จำเลยรับต่อตำรวจผู้จับกุมว่าจำเลยสมคบกับพวกลักทรัพย์ ถ้อยคำที่่่จำเลยพูดเช่นนั้น ตำรวจเป็นผู้ได้เห็นได้ยินได้ฟังจำเลยกล่าวเอง เป็นพยานชั้น 1 แต่ข้อความที่จำเลยบอกตำรวจว่าจำเลยกับพวกสมคบกันลักทรัพย์ จำเลยจะได้สมคบกันลักทรัพย์จริงหรือไม่ตำรวจไม่เห็น  เป็นแต่ทราบจากคำบอกของจำเลย ตอนนี้เป็นพยานบอกเล่า ถึงแม้จะเป็นพยานบอกเล่าก็รับฟังได้ เพราะเป็นถ้อยคำปรึกปรำตนเอง
และคำพิพากษาฎีกาที่ 1819/2532 จำเลยยอมรับต่อเจ้าพนักงานตำรวจที่กองกำลังพลกรมตำรวจว่า จำเลยเป็นผู้แก้ไขตำแหน่งและเลขประจำตำแหน่งในบันทึกการขอบรรจุข้าราชการตำรวจที่ผู้บังคับบัญชาของจำเลย เสนอแต่งตั้งให้จำเลยดำรงตำแหน่งรองสารวัตรปกครองป้องกันสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น เป็นตำแหน่งรองสารวัตรปกครองป้องกันสถานตำรวจนครบาลชนะสงคราม แม้คำรับดังกล่าวจะเป็นคำบอกเล่าก็ตาม แต่ก็เป็นคำบอกเล่าที่ทำให้ตนเองเสียประโยชน์ จึงรับฟังได้

--- จะเห็นได้ว่า คำพิพากษาฎีกาที่ 226/2486 และ 1819/2532 นั้นเป็นคำรับสารภาพในชั้นจับกุม ซึ่งกรณีน่าจะใช่บทบัญญัติมาตรา 84 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบัญญัติเป็นการเฉพาะแล้ว มากกว่านำบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (1) มาปรับใช้

--- ถ้าเป็นกรณีเป็นถ้อยคำอื่น ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อมีการแจ้งสิทธิตามมาตรา 84 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 83 วรรคสอง ข้อสังเกต คำว่า "รับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับ" เท่านั้น ถ้าเป็นถ้อยคำซัดทอดว่าผู้อื่นเป็นผู้กระทำความผิด ก็อาจเป็นพยานหลักฐานในฐานเป็นคำซัดทอดในการพิสูจน์ของผู้ถูกซัดทอดได้ แต่ศาลคงต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง โดยไม่อาจรับฟังโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลยได้ (227/1 วรรคหนึ่ง)