ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blog คำพิพากษาฎีกา ประเด็น ภาษาเขียนที่น่าสนใจ ^^ อัพเดท 23/12/53

รูปภาพของฉัน
ปรับปรุงเพื่อทำเป็นสารบัญครับ

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ฎีกาน่าสนใจ วันที่ 25-26 กุมภาพันธ์

นล้มละลาย (เน้นดูฎีกาใหม่ๆ)

897/2517 น.114
594/2538 น.116
423/2518 น.118
2181/2535 น.120 (ออกเนติ)
1097/2539 น.146
2537/2552 น.150
1681/2552 น.151
3479/2529 น.159
2778/2552 น.160 มี 3 ประเด็น
2537/2534 น.167 อ่านเพื่อเอาเหตุผลตอบ
1915/2536 น.170 (ออกเนติ) ภาษาดี
8228/2547 น.180
3960/2546 น.193 (ออกเนติ) ภาษาดี
3017/2544 +1679/2551 น.195-196 แต่งโจทย์ได้
6722/2544 น.203 ภาษาดี
6519/2550 น.206
795/2553 น.211
1824/2536 น.212
2111/2551 น.217
3361/2549 + 809/2552 น.223-224 น่าสนใจ
1561/2537 น.232
912/2524 น.234
6464/2550 น.236
662/2526 น.242
6621/2528 น.246
1857/2541 262
382/2550 น.198

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ฎีกาน่าสนใจประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2554

เรื่องพยาน


8215/2550+3274/2553 น่าสนใจ !!


พระธรรมนูญศาลยุติธรรม


7651/ 2552
3977/ 2553
1555-1558/ 2553


23 ก.พ. 2554
ล้มละลาย (เทียบจูริสเล่ม ปี 54) ส่วนใหญ่จะเป็นฎีกาที่ยังไม่ได้ออกข้อสอบนะครับ
4732/2543 น.12
4286/2543 น.15
4082/2552 น.28 (จำภาษา)
3380/2533 น.33
2193/2550 น.35
5602/2552 น.37
588/2535 vs 1915/2536 (ออกเนติ)
212/2527 น.67
112/2553 น.69
1906/2551 น.72
5273/2544 น.73
5523/2552 น.74
2567/2543 น.88
5348/2551 น.94
2771/2549 , ท.20/2551 น.99
2964/2553 น.101


24 ก.พ 2554
3356/2526 เกี่ยวกับพยานบอกเล่าคดีอาญา
โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความ เพราะพนักงานสอบสวนไม่สามารถสอบสวนผู้เสียหายเป็นพยานได้ โจทก์อ้างส่งแต่คำให้การชั้นสอบสวนของพยานที่อ้างว่ารู้เห็นเหตุการณ์และจำหน้าคนร้านได้ ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า / คำตำรวจผู้จับก็มีแต่ว่าภริยาผู้เสียหายแจ้งให้จับจำเลยและเมื่อให้ดูตัว ผู้เสียหายก็ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายยิงผู้เสียหาย คำตำรวจผู้จับก็เป็นพยานบอกเล่า / แม้จำเลยให้การรับสารภาพต่อผู้จับ คำรับสารภาพก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธย่อมไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้
---(จูริสเขียน) อย่างไรก็ตาม ตามมาตรา 95/1 วรรคสอง ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่
(1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ
(2) มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลที่เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวกบเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น
ข้อสังเกต จะเห็นได้ว่าจูริสได้อ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 95/1  (พยานบอกเล่า หน้า 271 ถึง 279) มาใช้กับพยานบอกเล่าในคดีอาญาซึ่งทำให้ผู้อ่านอาจเกิดความสับสน แต่ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับพยานบอกเล่าในคดีอาญา หน้า 279 ว่า การรับฟังพยานบอกเล่าในคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับฟังพยานบอกเล่าไว้แล้ว แม้ตัวบทจะมีหลักเกณฑ์เดียวกัน แต่อาจจะทำให้ผู้อ่านอ้างมาตราผิดได้)


(จำ! ตัวบท ป.วิ.พ. มาตรา 95/1 วรรคสอง และ ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง นั้น ถ้าจำตัวบทไม่ได้ ให้จำคำที่เน้นตัวหนาที่ผู้เขียนเน้นไว้ให้เพื่อให้ได้คะแนนดี น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้, มีเหตุจำเป็น, มีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม)


ข้อสงสัย  ผู้เขียน เห็นว่า "แม้จำเลยให้การรับสารภาพต่อผู้จับ คำรับสารภาพก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า" การที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมน่าจะเป็นไปตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ซึ่งพออธิบายได้ดังนี้
1. ถ้าเป็นคำรับสารภาพว่าผู้ถูกจับเป็นผู้กระทำความผิด มาตรา 84 วรรคท้าย  บัญญัติว่า "ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้แก่พนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
2. แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือมาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ  แล้วแต่กรณี

--- จะเห็นได้ว่า การที่จำเลยให้การรับสารภาพ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3356/2526 นั้น ห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานโดยเด็ดขาด ศาลไม่อาจหยิบยกคำรับสารภาพในชั้นจับกุมว่าจำเลยได้กระทำความผิดมาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์เพื่อลงโทษจำเลยได้

---- และจะเห็นได้จาก จูริสหน้า 407 ที่กล่าวว่า คำบอกเล่าที่ขัดต่อผลประโยชน์ของตนเอง รับฟังได้ (ปรับตามข้อยกเว้นมาตรา 226/3 (1)  นั้น มีคำพิพากษาฎีกาที่ 226/2486  วินิจฉัยว่า จำเลยรับต่อตำรวจผู้จับกุมว่าจำเลยสมคบกับพวกลักทรัพย์ ถ้อยคำที่่่จำเลยพูดเช่นนั้น ตำรวจเป็นผู้ได้เห็นได้ยินได้ฟังจำเลยกล่าวเอง เป็นพยานชั้น 1 แต่ข้อความที่จำเลยบอกตำรวจว่าจำเลยกับพวกสมคบกันลักทรัพย์ จำเลยจะได้สมคบกันลักทรัพย์จริงหรือไม่ตำรวจไม่เห็น  เป็นแต่ทราบจากคำบอกของจำเลย ตอนนี้เป็นพยานบอกเล่า ถึงแม้จะเป็นพยานบอกเล่าก็รับฟังได้ เพราะเป็นถ้อยคำปรึกปรำตนเอง
และคำพิพากษาฎีกาที่ 1819/2532 จำเลยยอมรับต่อเจ้าพนักงานตำรวจที่กองกำลังพลกรมตำรวจว่า จำเลยเป็นผู้แก้ไขตำแหน่งและเลขประจำตำแหน่งในบันทึกการขอบรรจุข้าราชการตำรวจที่ผู้บังคับบัญชาของจำเลย เสนอแต่งตั้งให้จำเลยดำรงตำแหน่งรองสารวัตรปกครองป้องกันสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น เป็นตำแหน่งรองสารวัตรปกครองป้องกันสถานตำรวจนครบาลชนะสงคราม แม้คำรับดังกล่าวจะเป็นคำบอกเล่าก็ตาม แต่ก็เป็นคำบอกเล่าที่ทำให้ตนเองเสียประโยชน์ จึงรับฟังได้

--- จะเห็นได้ว่า คำพิพากษาฎีกาที่ 226/2486 และ 1819/2532 นั้นเป็นคำรับสารภาพในชั้นจับกุม ซึ่งกรณีน่าจะใช่บทบัญญัติมาตรา 84 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบัญญัติเป็นการเฉพาะแล้ว มากกว่านำบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (1) มาปรับใช้

--- ถ้าเป็นกรณีเป็นถ้อยคำอื่น ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อมีการแจ้งสิทธิตามมาตรา 84 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 83 วรรคสอง ข้อสังเกต คำว่า "รับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับ" เท่านั้น ถ้าเป็นถ้อยคำซัดทอดว่าผู้อื่นเป็นผู้กระทำความผิด ก็อาจเป็นพยานหลักฐานในฐานเป็นคำซัดทอดในการพิสูจน์ของผู้ถูกซัดทอดได้ แต่ศาลคงต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง โดยไม่อาจรับฟังโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลยได้ (227/1 วรรคหนึ่ง)