ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blog คำพิพากษาฎีกา ประเด็น ภาษาเขียนที่น่าสนใจ ^^ อัพเดท 23/12/53

รูปภาพของฉัน
ปรับปรุงเพื่อทำเป็นสารบัญครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรื่องผลของการถอนฟ้อง

หลัก เมื่อศาลอุนญาตให้ถอนคำฟ้องและจำหน่ายคดีจากสารบบความแล้วก็ย่อมมีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176
......มาตรา 176 บัญญัติว่า การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย แต่ว่าคำฟ้องใด ๆ ที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้ว อาจยื่นใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
......ผลแห่งการถอนคำฟ้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำฟ้องใหม่ได้ภายใต้บทบัญญัติแห่งอายุความ แต่ทั้งนี้ ไม่ถือว่าการฟ้องคดีดังกล่าวที่ได้ถอนไปนั้นเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 ส่วนคดีที่ฟ้องไว้นั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปจากศาล ศาลก็ไม่ต้องทำการพิจารณาหรือมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นคดีต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148


.....แต่มีในกรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องโดยแถลงต่อศาลว่าจะไม่ฟ้องเป็นคดีใหม่คำแถลงดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ แม้จะเป็นคำแถลงฝ่ายเดียวมิใช่ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยก็ตาม เท่ากับโจทก์สละสิทธิที่จะฟ้องใหม่ โจทก์จึงฟ้องคดีใหม่ไม่ได้ ดัง
.....คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2511 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ว่า ละเมิดบุกรุกที่พิพาทของโจทก์แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคยฟ้องจำเลยทั้งสี่นี้ในประเด็นและที่พิพาทรายเดียวกันนี้มาก่อนแล้วและได้ถอนฟ้องไป โดยแถลงต่อศาลไว้ว่าจะไม่นำคดีมาฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทนี้อีก ดังนี้ คำแถลงของโจทก์ในคดีก่อนซึ่งยอมสละสิทธินำคดีเรื่องนี้มาฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ในคดีนั้นได้ทำต่อศาลและต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งและย่อมผูกมัดโจทก์ โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสี่นี้อีกไม่ได้




.....แต่ถ้าคำแถลงกล่าวเพียงว่าไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไปก็ไม่ถือว่าเป็นการสละสิทธิที่จะฟ้องใหม่ โจทก์ย่อมฟ้องใหม่ได้
.....คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2528 ในคดีก่อนนั้นโจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคแรก โจทก์เพียงแต่ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนคำฟ้องต่อศาล และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องได้โดยมิต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยินยอมหรือไม่อย่างใด การที่โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปนั้น ก็มีความหมายแต่เพียงว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีกตามสิทธิของโจทก์ซึ่งตามมาตรา 176 บัญญัติรับรองไว้แต่อย่างใดไม่ ทั้งมิใช่กรณีที่มีการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความกันหรือเทียบได้กับกรณีประนีประนอมยอมความกัน ฟ้องของโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ


.....ปัจจุบันมีคำพิพากษาฎีกา 292/2552 เกี่ยวกับผลของการถอนคำฟ้องที่น่าสนใจ โดยจะคัดมาเฉพาะย่อย่าวในประเด็นที่น่าสนใจเผื่อให้มาศึกษากัน


......คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2552 ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกามาด้วยว่า โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้และถอนฟ้อง ทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้ว ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัย ขอให้ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้น เห็นว่า ปัญหาว่าอำนาจฟ้องของโจทก์ระงับไปด้วยการถอนฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาสำคัญทั้งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงย่อมอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาได้ ไม่ต้องห้ามแม้ว่าจำเลยทั้งสองจะมิได้ยกขึ้นอ้างในคำให้การ อย่างไรก็ดีแม้โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 441/2534 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ โดยมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้แล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยเพียงอ้างว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิ โดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 อีก กล่าวโดยเฉพาะโจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้อีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ในคดีนั้นได้กระทำต่อศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งพึงถือว่าโจทก์ได้ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 เกี่ยวกับการจะยื่นฟ้องใหม่ อันเป็นการผูกมัดตัวโจทก์ และแม้โจทก์เองจะมาเบิกความในคดีนี้โดยตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า “ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องไป” คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็หาใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า “ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องโดยหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก” ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า นายถาวร ผู้ซื้อที่ดินของโจทก์ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดี ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน


โดยมีหลักกฎหมายที่น่าสนใจดังนี้ (กำลังจัดทำครับ เนื่องจากมีฎีกาผูกกันหลายตัว)