ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blog คำพิพากษาฎีกา ประเด็น ภาษาเขียนที่น่าสนใจ ^^ อัพเดท 23/12/53

รูปภาพของฉัน
ปรับปรุงเพื่อทำเป็นสารบัญครับ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กรมสรรพากร ข้อหารือภาษีอากร

http://www.rd.go.th/publish/12859.0.html

ข้อหารือภาษีอากร ในเว็บกรมสรรพากร มีปี 53 เดือนมกราคม-กรกฎาคมนะครับ
ส่วนเดือนกรกฎาน่าจะเป็นปี 53 แต่ไม่ได้เปลี่ยนเลข

ที่มา http://www.rd.go.th/publish/index.html กรมสรรพากร

ภาษีอีคอมเมิร์ซ:เปิดร้านค้าออนไลน์เสียภาษีไหม?...หลักการคำนวนภาษีขายสินค้าออนไลน์เป็นอย่างไร...

   ปัจจุบันผู้ประกอบการบางรายยังไม่ทราบว่า หากทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆหรือไม่ เพราะธุรกิจอีคอมเมิร์ซถือเป็นธุรกิจใหม่ในสังคมไทย เป็นการซื้อขายผ่านคอมพิวเตอร์ และเซิร์ฟเวอร์สามารถติดตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ได้
      วิรัตน์ ศิริขจรกิจ Partner ด้านภาษี บริษัท สำนักงานภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย จำกัด (KPMG) กล่าวว่าตอนนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับภาษีอีคอมเมิร์ซ ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซยังคงต้องเสียภาษีภายใต้ประมวลกฎหมายรัษฎากรเหมือนธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีผลบังคับใช้กับทุกธุรกิจรวมถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้วย ดังนั้นเมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อเข้ามาร้านค้าต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อสินค้าส่งออกไปให้กับลูกค้า ลูกค้าที่สั่งซื้อก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

เข้าใจ VAT บริหารจัดการภาษีง่ายขึ้น

     วิรัตน์ให้ความคิดเห็นว่า จากประเด็นข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับเรื่องการจัดเก็บภาษีของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทางกรมสรรพากรได้นำมาพิจารณาประกอบคำวินิจฉัยในเรื่องการออกมาตราการการจัดเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซภายใต้ประมวลรัษฎากร
    ในแง่ของการจัดเก็บ ส่วนภาษีเงินได้จะไม่เป็นปัญหาเท่าไรนัก แต่ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณา เพราะการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อมีการจ่ายเงินซื้อสินค้า หากเป็นกรณีขายผ่านออนไลน์ จะเกิดข้อสงสัยว่าการเก็บภาษีเกิดขึ้นเมื่อใดต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากรหรือไม่
     ประเด็นเหล่านี้ทำให้เห็นแง่มุมที่มีต้องพิจารณาผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงประมวลกฎหมายรัษฎากรเกี่ยวกับการเรียกจัดเก็บภาษีด้วยเพราะเมื่อมีการชำระเงินเกิดขึ้นจะต้องมีเรื่องของภาษีตามมาเสมอ ดังนั้นต้องรู้ว่าจะบริหารจัดการเรื่องภาษีกับธุรกิจของตนให้ถูกต้องอย่างไร

 ธุรกิจจองโรงแรมและท่องเที่ยว กรณีศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดเก็บ VAT

     วิรัตน์กล่าวต่อว่า เว็บไซต์ที่เปิดให้บริการจองโรงแรมที่พักและแพ็คเก็จท่องเที่ยวถือเป็นธุรกิจที่ต้องบริหารจัดการเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างละเอียด เนื่องจากผู้ประกอบการไทยจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ให้กรมสรรพากรเวลาหักค่าบริการผ่านเว็บไซต์กับโรงแรมหรือลูกค้าในต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ผู้ทำเว็บไซต์จองโรงแรมตกลงเรื่องอัตราค่าบริการโรงแรมในต่างประเทศ หากมีการจองที่พักราคา 1,000 บาท จะหักค่าบริการ 100 บาท หากไม่แจ้งเรื่องการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มกับโรงแรมในต่างประเทศ จะทำให้จำนวนเงินที่ได้รับจากลูกค้าที่แท้จริงประมาณ 93 บาท ดังนั้นผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่ให้บริการจองโรงแรมต่างประเทศควรจะคิดค่าบริการที่ชัดเจน เพื่อชี้แจงให้ลูกค้าได้ทราบถึงเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ถ้าพิจารณาแล้วว่าเป็นผลเสียใจการชี้แจ้ง ก็ควรจะคำนวณต้นทุนในการให้บริการใหม่ โดยรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปในราคาค่าบริการที่แจ้งกับลูกค้าไปตั้งแต่ต้น
 
ไม่มี vat หากผ่านด่านศุลกากร

     สำหรับสินค้าออนไลน์ที่จับต้องได้นั้นกรณีส่งของให้ลูกค้าในประเทศจะเป็นการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ตามปกติเพราะการซื้อขายสินค้าแต่ละครั้งจะมีการออกใบกำกับภาษี แต่ถ้าทำการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้าที่ต่างประเทศผ่านทางไปรษณีย์จะได้สิทธิในการไม่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
     แต่ถ้าผู้ประกอบการไม่มีหลักฐานในการส่งสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร จะไม่ได้สิทธิในการไม่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แทน ดังนั้นหากผู้ประกอบการปฏิบัติตามขั้นตอนของการจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศโดยผ่านพิธีการศุลกากรอย่างถูกวิธี สามารถลดต้นทุนจาการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
 

เตรียมความพร้อมรับภาษีอีคอมเมิร์ซ

     วิรัตน์ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นเรื่องของภาษีอีคอมเมิร์ซในไทยว่าผู้ประกอบการคงต้องรอท่าทีจากกรมสรรพากรก่อน ว่าจะกำหนดกรอบการจัดเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซออกมาเป็นอย่างไร เท่าที่ทราบตอนนี้ เรื่องของภาษีอีคอมเมิร์ซยังถือว่ายังไม่มีการกำหนดใช้แพร่หลายเท่าใดนัก เนื่องจากบางประเทศยังคงเป็นปัยหาเหมือนกันไม่สามารถวางกรอบที่เหมาะสมในการเรียกเก็บได้
    สำหรับตอนนี้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซไทยต้องเตรียมความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นเอกสารและการปฏิบัติตามขั้นตอนการเสียภาษีให้ครบถ้วน คาดว่าต่อไปการเข้าสู่ระบบการจัดเก็บภาษีคอมเมิร์ซเรื่องของภาษีที่มีการจัดเก็บในปัจจุบันจะส่งผลต่อขั้นตอนการจัดเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซแน่นอน เนื่องจากภาษีทุกประเภทต้องอยู่ภายใต้ประมวลรัษฎากร



การตรวจสอบการเสียภาษีผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

     วิรัตน์กล่าวต่อว่า กระบวนการจัดเก็บภาษีทุกขั้นตอนได้ถูกวางไว้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว หากมีการปฏิบัติตามกฎที่วางไว้บริษัทหรือห้างร้านที่จดทะเบียนธุรกิจต้องมีการยื่นภาษีและออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า เพราะจะต้องนำเอกสารไปยื่นให้กับกรมสรรพากรทุกปีหรือแม้แต่การส่งของไปต่างประเทศต้องผ่านด่านศุลกากร
     ปกติถ้ากรมสรรพากรตรวจสอบแล้วพบว่า บุคคลนี้มีรายได้ รู้ว่าเป็นใครและไม่ได้เสียภาษี โดยทั่วไปกรมสรรพากรจะติดตามบุคคลนั้นได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะหน้าร้านปกติหรือบนเว็บไซต์ การตรวจสอบการทำธุรกิจผ่านเว็บไซต์และมีชื่อผู้ประกอบการแจ้งที่หน้าเว็บไซต์ ตรงนี้เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่กรมสรรพากรสามารถเข้ามาตรวจสอบได้
     ดังนั้นในส่วนของกรมสรรพากรที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก คือ การพยายามตอบข้อสงสัยและชี้แจงในเรื่องของการเสียภาษีสำหรับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซให้ชัดเจนและง่ายมากที่สุด เพราะเป็นธุรกิจใหม่ที่บางคนอาจยังไม่เข้าใจและรู้สึกถึงความยุ่งยาก ให้ทำการเสียภาษีในแบบที่ถูกต้องได้ หากผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการเสียภาษีสามารถเข้าไปในเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้
     สำหรับกรณีภาษีอีคอมเมิร์ซที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยนี้ อุปสรรคที่จะส่งผลต่อผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซจะเป็นเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่มมากกว่าด้านอื่น ดังนั้น หากกรมสรรพากรสามารถกำหนดแนวทางการจัดเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซได้ชัดเจนมากเท่าไร จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการเรื่องของภาษีได้อย่างถูกต้องและสามารถคำนวณต้นทุนราคาของสินค้าที่จะทำการขายได้ว่าเท่าไร วิรัตน์กล่าวทิ้งท้าย



คำศัพท์น่ารู้

ภาษีเงินได้บุคลลธรรมดา ภาษีที่ต้องจัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีบักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ ต้องนำแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภานในเดือนมกราคมถึงมีนาคม ของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณี กฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณีกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ หรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8  ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ

ใบกำกับภาษี เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการในแต่ละครั้ง
• กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
• กรณีการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระราคาค่าบริการ


ที่มา : อีคอมเมิร์ซ แมกาซีน ฉบับ เดือนมีนาคม 2010

http://www.makewebeasy.com/article/e-commercetax.html

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Toeic

TOEIC คืออะไร?

TOEIC (Test of English for International Communication ) เป็นข้อสอบมาตรฐานระดับสากล ในการวัดทักษะภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ โดยในปี 2008 มีมากกว่า 5 ล้านได้ทดสอบ TOEIC และจากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา คะแนนสอบ TOEIC ได้ช่วยเหลือ องค์กร สถาบันการศึกษา และรัฐบาลทั่วโลก กว่าหลายพันแห่ง ในการรับสมัครและโปรโมทผู้สมัครที่มีคุณสมบัติมากที่สุด ซึ่งการสอบ TOEIC จัดทำขึ้นโดยEducational Testing Service (ETS)สำหรับในประเทศไทยนั้น  มีหลายหน่วยงานและสถาบันต่างๆมากมายที่ต้องการผล TOEIC เช่น ธุรกิจการบิน การโรงแรม การท่องเที่ยว การขนส่ง สถาบันการเงิน ปิโตรเคมี ยานยนต์ โรงพยาบาล รวมทั้งบริษัทข้ามชาติอื่นๆ โดยนำไปใช้ในด้านต่างๆ เช่น สำหรับพิจารณาทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อรับสมัครเข้าทำงาน ปรับเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง คัดเลือกเพื่อไปอบรมสัมนาต่างประเทศ  ปัจจุบัน TOEIC มีการสอบสองรูปแบบคือ
  1. TOEIC Listening and Reading Test (การฟังและการอ่าน) และ
  2. TOEIC Speaking and Writing Tests (การพูดและการฟัง) ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่
โดยในประเทศไทย มีการสอบเฉพาะแบบ TOEIC Listening and Reading Test (การฟังและการพูด) ซึ่งเป็นแบบทดสอบซึ่งสามารถวัดทักษะความสามารถในการนำภาษาอังกฤษมาใช้งานได้จริง ทั้งด้านการฟังและการอ่านคะแนนของ TOEIC ไม่มีคะแนนได้ คะแนนตก ซึ่งแต่ละคะแนนจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ภาษาของผู้สอบ โดยคะแนน TOEIC เริ่มจาก 10 คะแนนถึง 990 คะแนน

รูปแบบการสอบ TOEIC (Listening and Reading Test)
ปัจจุบันการสอบ TOEIC ใช้รูปแบบที่เรียกว่า Redesigned TOEIC แบ่งการสอบเป็น 2 ส่วนคือ การฟัง (Listening) และ การพูด (Reading) จำนวน 200 ข้อ คะแนนเต็มรวม 990 คะแนน เวลาในการทำข้อสอบคือ 2 ชั่วโมง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
  1. การฟัง (Listening Comprehension) มี 100 ข้อ  คะแนนเต็ม 495 คะแนน เวลา 45 นาที ผู้เข้าสอบจะได้ฟังคำถาม และการสนทนาสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษ แล้วตอบคำถามจากสิ่งที่ได้ยิน โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย  ดังนี้
    1. Part 1: Photographs  10 ข้อ Part 2: Question-Response  30 ข้อ Part 3: Conversations  30 ข้อ
    2. Part 4: Short Talks 30 ข้อ
  2. การอ่าน (Reading Comprehension) มี 100 ข้อ คะแนนเต็ม 495 คะแนน  เวลา 75 นาที ผู้เข้าสอบจะต้องตอบคำถามจากสิ่งที่อ่าน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย  ดังนี้
    1. Part 5: Incomplete Sentences  40 ข้อ Part 6: Text Completion  12 ข้อ
    2. Part 7: Reading Comprehension  48 ข้อ
คะแนน TOEIC เท่าไรถึงจะผ่าน
คะแนนของ TOEIC ไม่มีคะแนนได้ คะแนนตก ซึ่งแต่ละคะแนนจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ภาษาของผู้สอบ โดยคะแนน TOEIC เริ่มจาก 10 คะแนนถึง 990 คะแนน โดยแบ่ง
- การฟัง Listening               5-495 คะแนน
- การอ่าน Reading               5-495 คะแนน
คะแนนโทอิคมาตรฐาน ที่ทุกสายการบินต้องการจะอยู่ที่ 550 คะแนนขึ้นไป (บางสายการบินอาจต้องการเพียง 500 คะแนน) ดังนั้นถ้าทำคะแนนสอบได้ 600 คะแนนขึ้นไป ก็สบายใจได้

การสมัครสอบ TOEICขั้นตอนการสมัครสอบ TOEIC
  • เตรียมค่าสอบ TOEIC 1,500 บาท (Redesigned TOEIC) เตรียมรูปถ่าย 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้วก็ได้ สามารถสมัครด้วยตัวเองที่ ตึก BB หรือโทรไปจองที่นั่งสอบก็ได้ที่ โทร 02-260 7061 begin_of_the_skype_highlighting              02-260 7061      end_of_the_skype_highlighting , 02 664 3131 begin_of_the_skype_highlighting              02 664 3131      end_of_the_skype_highlighting เปิดสอบสองช่วงคือ เช้า 09.00 น.-12.00 น. และบ่าย 13.00น.-16.00 น.  เปิดสอบทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • แนะนำให้ไปสอบช่วงเช้าเพราะคนไม่เยอะ แต่ถ้าสอบบ่ายแนะนำให้โทรไปจองก่อน
สถานที่รับสมัครสอบ  TOEIC Services Suite ศูนย์สอบกรุงเทพ
อาคาร BB Building, 1907 ชั้น 19 
54  ถนน อโศก  สุขุมวิท
โทร  02-260 7061 begin_of_the_skype_highlighting              02-260 7061      end_of_the_skype_highlighting, 02-664 3131 begin_of_the_skype_highlighting              02-664 3131      end_of_the_skype_highlightingการทราบผลสอบ TOEIC
  • ถ้าไปสอบวันจันทร์ถึงวันพฤหัส สามารถรับผลสอบได้ในวันรุ่งขึ้นตั้งแต่ 10.00น.เป็นต้นไป หากสอบในวันศุกร์หรือเสาร์ รับผลสอบได้วันอังคาร 10.00 น.เป็นต้นไปเช่นกัน
  • หากน้องไม่สะดวกที่จะไปรับผลสอบที่อาคาร BB ก็ไม่ต้องห่วง เพราะมีบริการส่งผลสอบถึงที่บ้านทาง ems โดยทางศูนย์คิดค่าบริการ 30 บาทเท่านั้น
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการสอบ TOEIC

ผลสอบ TOEIC มีอายุกี่ปี

ผลสอบ TOEIC สามารถใช้ได้ 2 ปี นับจากวันสอบหลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงในวันสอบ
บัตรประชาชนตัวจริง หรือ passport ตัวจริงที่ยังไม่หมดอายุข้อปฏิบัติในการสอบ
  1. จะไม่อนุญาตให้เข้าสอบ หลังจากที่ได้แจกข้อสอบแล้ว หนังสือ พจนานุกรม เอกสาร บันทึก ไม้บรรทัด เครื่องคิดเลข โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์การฟังการบันทึก หรืออุปกรณ์ การถ่ายภาพ จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าห้องทดสอบกระดาษทุกชนิด จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าห้องทดสอบคุณไม่สามารถทำเครื่องหมาย หรือขีดเส้นใต้ในข้อสอบ ในการออกจากห้องสอบ คุณต้องได้รับอนุญาตจากผู้คุมก่อน ซึ่งจะไม่มีการชดเชยเวลาให้
  2. เมื่อสอบเสร็จจะต้องคืนข้อสอบ และกระดาษคำตอบ
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในวันรับผลสอบ- บัตรประชาชนตัวจริง หรือ passport ตัวจริงที่ยังไม่หมดอายุ
- ใบลงทะเบียนสอบ TOEIC


ที่มา: ETS (Educational Testing Service)
http://www.edufirstschool.com/home.html อ้างอิง

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รายชื่อมาตราประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำนิยาม
(1) ศาล
(2) คดี
(3) คำฟ้อง
(4) คำให้การ
(5) คำคู่ความ
(6) คำแถลงการณ์
(7) กระบวนพิจารณา
(8) การพิจารณา
(9) การนั่งพิจารณา
(10) วันสืบพยาน
(11) คู่ความ
(12) บุคคลผู้ไร้ความสามารถ
(13) ผู้แทนโดยชอบธรรม
(14) เจ้าพนักงานบังคับคดี

ลักษณะ 2 ศาล
หมวด 1 เขตอำนาจศาล
มาตรา 2 ศาลที่มีอำนาจ
มาตรา 3 ศาลที่มีเขตอำนาจ
มาตรา 4 ศาลที่มีเขตอำนาจ (กรณีทั่วไป)
มาตรา 4 ทวิ คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
            1. คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
            2. คำฟ้องที่ไม่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
มาตรา 4 ตรี คำฟ้องกรณีพิเศษ
มาตรา 4 จัตวา คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
มาตรา 4 เบญจ คำร้องขอเกี่ยวกับนิติบุคคล
มาตรา 4 ฉ คำร้องขอเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักร
มาตรา 5 ศาลที่มีอำนาจมีหลายศาล
มาตรา 6 การโอนคดี
มาตรา 7 คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับคดีเดิม
มาตรา 8 การรวมคดีในศาลชั้นต้น
มาตรา 9 การรวมคดีในชั้นอุทธรณ์
มาตรา 10 การไม่สามารถดำเนินคดีในศาลที่มีอำนาจ

หมวด 2 การคัดค้าน ผู้พิพากษา
มาตรา 11 เหตุคัดค้านผู้พิพากษาหลายนาย
มาตรา 12 เหตุคัดค้านผู้พิพากษานายเดียว
มาตรา 13 การคัดค้านผู้พิพากษา
มาตรา 14 ผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้านไม่ยอมถอนตัว

หมวด 3
มาตรา 15 การใช้อำนาจนอกเขตศาล
มาตรา 16 การส่งประเด็น
มาตรา 17 ลำดับการดำเนินคดี
มาตรา 18 การตรวจคำคู่ความ
มาตรา 19 การสั่งให้ตัวความมาศาล
มาตรา 20 การไกล่เกลี่ย
มาตรา 20 ทวิ วิธีการไกล่เกลี่ย
มาตรา 21 การพิจารณาคำขอและคำแถลง
มาตรา 22 การคำนวณระยะเวลา
มาตรา 23 การขยายหรือย่นระยะเวลา
มาตรา 24 การชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย
มาตรา 25 การส่งคำร้องคำขอเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวและการบังคับคดี
มาตรา 26 การคัคด้านข้อความหรือคำสั่งหรือคำชี้ขาดของศาล
มาตรา 27 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
มาตรา 28 ว.1 การรวมพิจารณาคดี / ว.2 การโอนคดี
มาตรา 29 การแยกคดี
มาตรา 30 การออกข้อกำหนดของศาล
มาตรา 31 ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
มาตรา 32 ละเมิดอำนาจศาลกรณีโฆษณา
มาตรา 33 โทษฐานละเมิดอำนาจศาล
มาตรา 34 การดำเนินกระบวนพิจารณาในประเทศ

หมวด 4 การนั่งพิจารณา
มาตรา 35 สถานที่และวันเวลาที่นั่งพิจารณาคดี
มาตรา 36 การนั่งพิจารณาคดี
มาตรา 37 การนั่งพิจารณาคดีติดต่อกัน
มาตรา 38 การเลื่อนคดีโดยศาลเอง
มาตรา 39 การเลื่อนคดีโดยตรง
มาตรา 40 คู่ความขอเลื่อนคดีเพราะเหตุจำเป็น
มาตรา 41 การเลื่อนคดีเพราะเหตุเจ็บป่วย
มาตรา 42 คู่ความมรณะ
มาตรา 43 การขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
มาตรา 44 การเรียกบุคคลเข้ามาแทนที่คู่ความมรณะ
มาตรา 45 ว.1 คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือผู้แทนมรณะหรือหมดอำนาจ / ว.2 ผู้แทนหรือทนายความมรณะหรือหมดอำนาจ

หมวด 5 รายงานและสำนวนความ
มาตรา 46 ว.1 ลักษณะและข้อบังคับขอสำนวนความ / ว.2 การจัดทำคำแปลเอกสารภาษาต่างประเทศ / ว.3 การจัดหาล่าม
มาตรา 47 ใบมอบอำนาจ
มาตรา 48 รายงานกระบวนพิจารณา
มาตรา 49 รายงานของศาลเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้น
มาตรา 50 การลงลายมือชื่อรับรู้รายงานหรือเอกสาร
มาตรา 51 การลงสารบบและการรักษาสำนวนความ
มาตรา 52 การรักษาสำนวนคดีถึงที่สุด
มาตรา 53 สำนวนความสูญหาย
มาตรา 54 การขอตรวจหรือคัดสำนวนความ

ลักษณะ 3 คู่ความ
มาตรา 55 อำนาจฟ้อง
มาตรา 56 การฟ้องคดีของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 57 ร้องสอด
มาตรา 58 สิทธิของผู้ร้องสอด
มาตรา 59 คู่ความร่วม
มาตรา 60 การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน
มาตรา 61 การตั้งทนายความ
มาตรา 62 อำนาจของทนายความ
มาตรา 63 อำนาจการรับเงินหรือทรัพย์สินของทนายความ
มาตรา 64 การมอบฉันทะ
มาตรา 65 ทนายความถอนตน
มาตรา 66 การสอบสวนความเป็นผู้แทน

ลักษณะ 4 การยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสาร
มาตรา 67 รายการในคำคู่ความ
มาตรา 68 ภูมิลำเนาของนิติบุคคล
มาตรา 69 การยื่นคำคู่ความหรือเอกสาร
มาตรา 70 การส่งคำคู่ความหรือเอสการ
มาตรา 71 การยื่นคำให้การ
มาตรา 72 การยื่นคำร้องหรือคำแถลงการณ์ / ว.2 คำร้องอื่นๆ / ว.3 เอกสารอื่นๆ
มาตรา 73 การส่งโดยเจ้าพนักงานศาล
มาตรา 73 ทวิ การส่งไปรษณีย์ตอบรับ
มาตรา 74 วิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานศาลในการส่งคำคู่ความหรือเอกสาร
มาตรา 75 การส่งให้แก่ทนายความ
มาตรา 76 การไม่พบบุคคลที่จะส่ง
มาตรา 77 การส่งไปที่อื่นๆ
มาตรา 78 การวางคำคู่ความหรือเอกสาร
มาตรา 79 ปิดหมาย
มาตรา 80 หลักฐานในการส่ง
มาตรา 81 การส่งหมายเรียกพยาน
มาตรา 82 การส่งในคู่ความหลายคน
มาตรา 83 การส่งล่วงหน้า
มาตรา 83 ทวิ จำเลยมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานนอกราชอาณาจักร
มาตรา 83 ตรี การส่งกรณีอื่นนอกจากมาตรา 83 ทวิ
มาตรา 83 จัตวา การส่งให้จำเลยนอกราชอาณาจักร
มาตรา 83 เบญจ วันที่การส่งมีผล (กรณีจำเลยหรือบุคคลภายนอกมีภูมิลำเนานอกราชอาณาจักร)
มาตรา 83 ฉ วันที่การส่งมีผล (กรณีจำเลยหรือตัวแทนประกอบกิจการในราชอาณาจักร)
มาตรา 83 สัตต การดำเนินการส่งให้จำเลยนอกราชอาณาจักร
มาตรา 83 อัฎฐ กรณีส่งตามมาตรา 83 สัตต ไม่ได้

ลักษณะ 5 พยานหลักฐาน
หมวด 1 หลักทั่วไป
มาตรา 84 ข้อเท็จจริงที่ไม่ต้องนำสืบ
มาตรา 84/1 ภาระการพิสูจน์
มาตรา 85 สิทธิในการนำพยานเข้าสืบ
มาตรา 86 อำนาจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน
มาตรา 87 พยานหลักฐานที่ห้ามรับฟัง
มาตรา 88 บัญชีระบุพยาน
มาตรา 89 พิสูจน์ต่อพยาน
มาตรา 90 การยื่นและการส่งสำเนาพยานเอกสาร
มาตรา 91 พยานหลักฐานร่วมกัน
มาตรา 92 เอกสิทธิของคำเบิกความหรือพยานหลักฐาน
มาตรา 93 รับฟังได้แต่ต้นฉบับพยานหลักฐาน
มาตรา 94 สืบพยานบุคคลแทนหรือแก้ไขเพิ่มเติมพยานเอกสาร
มาตรา 95 พยานบุคคลรับฟังได้
มาตรา 95/1 พยานบอกเล่า
มาตรา 96 พยานหูหนวกหรือเป็นใบ้
มาตรา 97 อ้างคู่ความเป็นพยาน
มาตรา 98 พยานผู้เชี่ยวชาญ
มาตรา 99 การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ และการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ
มาตรา 100 การขอให้คู่ความอีกฝ่ายรับข้อเท็จจริง
มาตรา 101 การสืบพยานไว้ล่วงหน้า
มาตรา 101/1 สืบพยานไว้ก่อนกรณีฉุกเฉิน
มาตรา 101/2 เงื่อนไขหรือหลักประกันในการอนุญาต
มาตรา 102 ว.1 ศาลที่ทำการสืบพยาน / ว.2 การส่งประเด็น /ว.3 การตามประเด็น
มาตรา 103 หลักฟังความสองฝ่าย
มาตรา 103/1 สืบพยานแทนศาล
มาตรา 103/2 คู่ความตกลงเรื่องวิธีสืบพยาน
มาตรา 103/3 ข้อกำหนดการนำสืบพยานหลักฐาน
มาตรา 104 การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
มาตรา 105 ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเกี่ยวกับพยานหลักฐานอันไม่จำเป็น

หมวด 2 ว่าด้วยเรื่องการมาศาลของพยานและการซักถามพยาน
มาตรา 106 หมายเรียกพยาน
มาตรา 106/1 พยานที่ออกหมายเรียกไม่ได้
มาตรา 107 การเดินเผชิญสืบ
มาตรา 108 พยานต้องไปศาล
มาตรา 109 พยานบุคคลที่เบิกความแล้ว
มาตรา 110 พยานไม่ไปศาล
มาตรา 111 พยานที่ไม่ไปศาลเป็นพยานสำคัญ
มาตรา 112 สาบานตนก่อนเข้าเบิกความ
มาตรา 113 ต้องเบิกความด้วยวาจา
มาตรา 114 ห้ามเบิกความต่อหน้าพยาน
มาตรา 115 พยานที่ไม่ต้องเบิกความ
มาตรา 116 ผู้ถามพยาน
มาตรา 117 การถามพยาน
มาตรา 118 ข้อห้ามในการถามพยาน
มาตรา 119 ว.1 อำนาจศาลในการถามพยานเพิ่มเติม / ว.2 อำนาจศาลในการถามพยานเพิ่มเติมกรณีพยานเบิกความขัดกัน
มาตรา 120 การพิสูจน์ต่อพยานหลักฐาน
มาตรา 120/1 บันทึกถ้อยคำแทนการซักถามพยาน
มาตรา 120/2 บันทึกถ้อยคำของผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ
มาตรา 120/3 รายการในบันทึกถ้อยคำ
มาตรา 120/4 การสืบพยานโดยใช้ระบบการประชุมทางจอภาพ
มาตรา 121 การอ่านคำเบิกความและลงลายมือชื่อ

หมวด 3
มาตรา 122 ต้องต้นฉบับพยานเอกสารมาสืบ
มาตรา 123 ต้นฉบับเอกสารไม่อยู่ในความครอบครอง
มาตรา 124 ผลของการไม่นำต้นฉบับมาสืบ
มาตรา 125 การคัดค้านพยานเอกสาร
มาตรา 126 การชี้ขาดความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร
มาตรา 127 ข้อสันนิษฐานความถูกต้องแท้จริงของพยานเอกสาร
มาตรา 127 ทวิ การรับคืนต้นฉบับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ

หมวด 4 การตรวจและการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญโดยศาล
มาตรา 128 การตรวจพยานหลักฐาน
มาตรา 128/1 พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
มาตรา 129 พยานหลักฐานผู้เชี่ยวชาญ
มาตรา 130 การแสดงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

ลักษณะ 6 คำพิพากษาและคำสั่ง
หมวด 1 หลักทั่วไปว่าด้วยการตัดสินคดี
มาตรา 131 การวินิจฉัยชี้ขาดคดี
มาตรา 132 การจำหน่ายคดี
มาตรา 133 กรณีที่ไม่จำหน่ายคดี
มาตรา 134 ศาลมีหน้าที่ชี้ขาดคดี
มาตรา 135 จำเลยวางเงินต่อศาล
มาตรา 136 จำเลยวางเงินต่อศาลโดยยอมรัยผิดหรือไม่ยอมรับผิด
มาตรา 137 จำเลยยอมชำระหนี้อย่างอื่น
มาตรา 138 การประนีประนอมยอมความ
มาตรา 139 การพิพากษาคดีที่พิจารณาคดี

หมวด 2 ข้อความและผลแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่ง
มาตรา 140 การทำและอ่านคำพิพากษา
มาตรา 141 รายการในคำพิพากษาหรือคำสั่ง
มาตรา 142 ต้องพิพากษาตามคำฟ้อง
มาตรา 143 การแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่ง
มาตรา 144 การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
มาตรา 145 ผลพูกพันของคำพิพากษา
มาตรา 146 คำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด
มาตรา 147 คำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด
มาตรา 148 ฟ้องซ้ำ

หมวด 3 ค่าฤชาธรรมเนียม
ส่วนที่ 1 การกำหนดและการชำระค่าฤชาธรรมเนียม และการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาล
มาตรา 149 ค่าฤชาธรรมเนียม
มาตรา 150 ค่าขึ้นศาล
มาตรา 151 การคืนค่าขึ้นศาล
มาตรา 152 การชำระค่าฤชาธรรมเนียม
มาตรา 153 ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี
มาตรา 153/1 วิธีการและอัตราในการชำระ
มาตรา 154 เจ้าหนี้วางเงินและค่าใช้จ่าย
มาตรา 155 การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
มาตรา 156 วิธีการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
มาตรา 156/1 วิธีการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
มาตรา 157 ค่าธรรมเนียมศาลที่ได้รับการยกเว้น
มาตรา 158 กรณีคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องรับผิดชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองฝ่าย
มาตรา 159 ผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล มีความสามารถเสียค่าธรรมเนียมได้
มาตรา 160 การถอนอนุญาตการได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

ส่วนที่ 2 ความรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนีสม
มาตรา 161 ความรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียม
มาตรา 162 กรณีโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม
มาตรา 163 กรณีพิพากษาตามยอม
มาตรา 164 กรณีจำเลยวางเงินต่อศาล
มาตรา 165 กรณีจำเลยวางเงินต่อศาล
มาตรา 166 ค่าฤชาธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น
มาตรา 167 ศาลต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนึคำพิพากษา
มาตรา 168 การอุทธรณ์ฎีกาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
มาตรา 169 บัญชีแสดงค่าฤชาธรรมเนียม
มาตรา 169/1 การบังคับคดีเพื่อชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่ค้าง
มาตรา 169/2 ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี
มาตรา 169/3 ค่าฤชาธรรมเนียมการบังคับคดีที่ไม่จำเป็น

ภาค 2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
ลักษณะ 1 วิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น
มาตรา 170 ต้องดำเนินคดีครั้งแรกในศาลชั้นต้น
มาตรา 171 คำร้องขอ
มาตรา 172 คำฟ้อง
มาตรา 173 ว.1 การส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแก้คดี / ว.2 (1) ฟ้องซ้อน
มาตรา 174 ทิ้งฟ้อง
มาตรา 175 ถอนฟ้อง
มาตรา 176 ผลของการถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง
มาตรา 177 ว.1 คำให้การ / ว.3 ฟ้องแย้ง
มาตรา 178 คำให้การแก้ฟ้องแย้ง
มาตรา 179 การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ
มาตรา 180 กำหนดเวลาแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ
มาตรา  181 การพิจารณาของศาล
มาตรา 182 การชี้สองสถาน
มาตรา 183 การดำเนินกระบวนพิจารณาในวันชี้สองสถาน
มาตรา 183 ทวิ คู่ความไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน
มาตรา 184 กำหนดวันสืบพยาน
มาตรา 185 วันนัดสืบพยานนัดแรก
มาตรา 186 แถลงการณ์ปิดคดี
มาตรา 187 การพิจารณาสิ้นสุด
มาตรา 188 คดีไม่มีข้อพิพาท

ลักษณะ 2 วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น
หมวด 1 วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่
มาตรา 189 คำนิยามคดีมโนสาเร่
มาตรา 190 จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาอันพิพาทในคดีมโนสาเร่
มาตรา 190 ทวิ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีมโนสาเร่
มาตรา 190 ตรี คำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลา
มาตรา 190 จัตวา ค่าขึ้นศาล
มาตรา 191 วิธีฟ้องคดีมโนสาเร่
มาตรา 192 คดีที่ฟ้องไม่ใช่คดีมโนสาเร่
มาตรา 193 กำหนดวันนัดพิจารณาและหมายเรียกจำเลย
มาตรา 193 ทวิ ว.1 โจทก์ขาดนัดพิจารณา / ว.2 จำเลยขาดนัดพิจารณา
มาตรา 193 ตรี บัญชีระบุพยานและกำหนดวันนัดสืบพยาน
มาตรา 193 จัตวา การสืบพยาน
มาตรา 193 เบญจ ศาลนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไป
มาตรา 194 คำพิพากษาหรือคำสั่งด้วยวาจา
มาตรา 195 การนำวิธีพิจารณาสามัญมาใช้
มาตรา 196 คดีไม่มีข้อยุ่งยาก

หมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัด
มาตรา 197 ขาดนัดยื่นคำให้การ
มาตรา 198 โจทก์ขอพิจารณาคดีฝ่ายเดียว
มาตรา 198 ทวิ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
มาตรา 198 ตรี คดีมีจำเลยหลายคนและจำเลยบางคนขาดนัดยื่นคำให้การ
มาตรา 199 จำเลยขออนุญาตยื่นคำให้การ
มาตรา 199 ทวิ การบังคับคดีที่ขาดนัดยื่นคำให้การ
มาตรา 199 ตรี ขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายหลังมีคำพิพากษา
มาตรา 199 จัตวา วิธีการขอให้พิจารณาคดีใหม่
มาตรา 199 เบญ การพิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่
มาตรา 199 ฉ โจทก์ไม่ได้ให้การแก้คำฟ้องแย้ง
ส่วนที่ 2 การขาดนัดพิจารณา
มาตรา 200 ว.1 ขาดนัดพิจารณา / ว.2 ขาดนัดกรณีอื่นๆ
มาตรา 201 คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา
มาตรา 202 โจทก์ขาดนัดพิจารณา
มาตรา 203 ห้ามโจทก์ที่ขาดนัดพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี
มาตรา 204 จำเลยขาดนัดพิจารณา
มาตรา 205 ศาลสงสัยว่าส่งหมายนัดสืบพยานไม่ชอบ
มาตรา 206 ว.1 การวินิจฉัยชี้ขาดคดี / ว.2 การขอให้พิจารณาคดีใหม่ก่อนมีคำพิพากษา / ว.3 การพิจารณษคดีหลังจากศาลไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่
มาตรา 207 ขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายหลังมีคำพิพากษา

หมวด 3 อนุญาโตตุลาการ
มาตรา 210 การตั้งอนุญาโตตุลาการ
มาตรา 211 หลักเกณฑ์การตั้งอนุญาโตตุลาการ
มาตรา 212  ความยินยอมของอนุญาโตตุลาการ
มาตรา 213 ว.1 การถอนอนุญาตโตตุลาการ / ว.2 การคัดค้านอนุญาโตตุลาการ
มาตรา 214 ค่าธรรมเนียม
มาตรา 215 การกำหนดประเด็นข้อพิพาท
มาตรา 216 การนั่งพิจารณา
มาตรา 217 การออกเสียงชี้ขาด
มาตรา 218 คำชี้ขาด
มาตรา 219 ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการสิ้นสุด
มาตรา 220 การเสนอให้ศาลชี้ขาดข้อพิพาท
มาตรา 221 อนุญาโตตุลาการนอกศาล
มาตรา 222 การอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ภาค 3 อุทธรณ์และฎีกา
ลักษณะ 1 อุทธรณ์
มาตรา 223 สิทธิในการอุทธรณ์
มาตรา 223 ทวิ การอุทธรณ์ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
มาตรา 224 คดีที่ห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
มาตรา 225 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์
มาตรา 226 คำสั่งระหว่างพิจารณา
มาตรา 227 กรณีที่ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
มาตรา 228 การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา
มาตรา 229 การยื่นอุทธรณ์
มาตรา 230 การตรวจอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
มาตรา 231 การทุเลาการบังคับคดี
มาตรา 232 การตรวจอุทธรณ์
มาตรา 233 การสั่งให้เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น
มาตรา 234 การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์
มาตรา 235 คำแก้อุทธรณ์
มาตรา 236 การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์
มาตรา 237 การยื่นคำแก้อุทธรณ์
มาตรา 238 การพิจารณาข้อเท็จจริงกรณีอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย
มาตรา 239 อุทธรณ์คำสั่งต้องพิจารณาก่อนอุทธรณ์คำพิพากษา
มาตรา 240 การพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์
มาตรา 241 การพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์
มาตรา 242 การชี้ขาดตัดสินคดี
มาตรา 243 อำนาจศาลอุทธรณ์
มาตรา 244 การอ่านคำพิพากษา
มาตรา 245 ผลของคำพิพากษาหรือคำสั่ง
มาตรา 246 นำวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ลักษณะ 2 ฎีกา
มาตรา 247 การยื่นฎีกาและกฎหมายที่นำมาใช้บังคับชั้นฎีกา
มาตรา 248 คดีห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
มาตรา 249 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างในฎีกา
มาตรา 250 ยกเลิก
มาตรา 251 ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
มาตรา 252 การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา

ภาค 4 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาหรือการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
ลักษณะ 1 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
หมวด 1 หลักทั่วไป
มาตรา 253 จำเลยขอให้โจทก์วางเงินหืรอหาประกันในศาลชั้นต้น
มาตรา 253 ทวิ จำเลยขอให้โจทก์วางเงินหืรอหาประกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา
มาตรา 254 โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราว
มาตรา 255 การพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราว
มาตรา 256 จำเลยคัดค้านคำขอตามมาตรา 254 (2) หรือ (3)
มาตรา 257 ขอบเขตเงื่อนไขและวิธีดำเนินการของคำสั่งศาลตามมาตรา 254
มาตรา 258 ผลบังคับของคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
มาตรา 258 ทวิ ผลของการฝ่าฝืนคำสั่งศาลตามมาตรา 254
มาตรา 259 นำเรื่องบังคับคดีมาใช้โดยอนุโลม (ส่วนใหญ่ เป็น มาตรา 290, 305(1), 314(1))
มาตรา 260 ผลของวิธีการชั่วคราวเมื่อศาลพิพากษาคดี
มาตรา 261 จำเลยหรือบุคคลภายนอกขอเพิกถอนหมายหรือคำสั่งตามมาตรา 254
มาตรา 262 ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป
มาตรา 263 จำเลยขอให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
มาตรา 264 คู่ความขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณา
มาตรา 265 การใช้วิธีการชั่วคราวกับกรณีที่ศาลยอมรับเอาบุคคลเป็นประกัน

หมวด 2 คำขอในเหตุฉุกเฉิน
มาตรา 266 คำขอในเหตุฉุกเฉิน
มาตรา 267 การพิจารณาคำขอในเหตุฉุกเฉิน
มาตรา 268 อำนาจวินิจฉัยคำขอในเหตุฉุกเฉินและวิธีการที่จะนำมาใช้
มาตรา 269 ผลบังคับของคำสั่งอนุญาตตามคำขอในเหตุฉุกเฉิน
มาตรา 270 การใช้บังคับกับคำขออื่น

ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
หมวด 1 หลักทั่วไป
มาตรา 271 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
มาตรา 272 คำบังคับ
มาตรา 273 ข้อความในคำบังคับ
มาตรา 274 ผู้ค้ำประกันในศาล
มาตรา 275 หมายบังคับคดี
มาตรา 276 การออกหมายบังคับคดีและเงื่อนไข
มาตรา 277 การไต่สวนหาทรัพย์สินของลูกหนี้
มาตรา 278 อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
มาตรา 278/1 การส่งเอกสารโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
มาตรา 279 การดำเนินการบังคับคดี
มาตรา 280 ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
มาตรา 281 สิทธิและหน้าที่ของผู้มีส่วนได้เสีย
มาตรา 282 วิธีการบังคับคดีกรณีให้ชำระเงิน
มาตรา 283 ว.1 การยึดและการอายัดทรัพย์สิน / ว.2 ความรับผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
มาตรา 284 ห้ามยึดหรืออายัดทรัพย์สินเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้
มาตรา 285 ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในการบังคับคดี
มาตรา 286 เงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ไม่อยู่ในการบังคับคดี
มาตรา 287 การขอกันส่วน
มาตรา 288 การร้องขัดทรัพย์
มาตรา 289 การขอรับชำระหนี้ก่อนของเจ้าหนี้จำนองหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
มาตรา 290 การขอเฉลี่ยทรัพย์
มาตรา 291 กรณีขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่ทันกำหนด
มาตรา 292 การงดการบังคับคดี
มาตรา 293 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาของดการบังคับคดี
มาตรา 294 การดำเนินการบังคับคดีต่อไป
มาตรา 295 การถอนการบังคับคดี
มาตรา 295 ทวิ การถอนการบังคับคดีเพราะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่บังคับคดี
มาตรา 295 ตรี การบังคับคดีชำระค่าธรรมเนียมกรณีถอนการบังคับคดี
มาตรา 296 การบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
มาตรา 296 ทวิ การบังคับคดีกรณีขับไล่หรือต้องออกไปหรือต้องรื้อถอน
มาตรา 296 ตรี วิธีการบังคับคดีกรณีตามมาตรา 296 ทวิ
มาตรา 296 จัตวา ลูกหนี้หรือบริวารไม่ออกไปตามคำบังคับ
มาตรา 297 การจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษา
มาตรา 298 ศาลออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคำพิพากษา
มาตรา 299 สิทธิการดำเนินคดีอาญา
มาตรา 300 การกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จงใจขัดขืนคำบังคับ
มาตรา 301 การบังคับกับผู้ประกัน
มาตรา 302 ศาลที่มีอำนาจบังคับคดี

หมวด 2 วิธียึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ และการจ่ายเงิน
มาตรา 303 การยึดเอกสารและสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่าง
มาตรา 304การยึดอสังหาริมทรัพย์
มาตรา 305 ผลของการยึด
มาตรา 306 การขออนุญาตศาลขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึด
มาตรา 307 การบังคับรายได้ประจำปี
มาตรา 308 การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึด
มาตรา 309 ข้อบังคับการขายทอดตลาด
มาตรา 309 ทวิ การคัดค้านการจายทอดตลาดในราคาต่ำเกินสมควร
มาตรา 309 ตรี สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาด
มาตรา 310 การจัดการทรัพย์สินที่ถูกอายัด
มาตรา 310 ทวิ วิธีการอายัดสิทธิเรียกร้องที่นอกเหนือจากมาตรา 310
มาตรา 311 การอายัดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 310 ทวิ
มาตรา 312 บุคคลภายนอกปฏิเสธคำสั่งอายัด
มาตรา 313 การอายัดสิทธิเรียกร้องแห่งรายได้เป็นคราวๆ การอายัดสิทธิเรียกร้องที่มีจำนองเป็นประกัน
มาตรา 314 ผลของการอายัดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 312 และ 313
มาตรา 315 การขายทอดตลาดสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัด
มาตรา 316 การทำบัญชีและบัญชีทรัพย์สิน
มาตรา 317 การเฉลี่ยเงินที่ได้จากการบังคับคดี กรณีจำเลยขาดนัด
มาตรา 318 การจ่ายเงินกรณีมีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคนเดียว
มาตรา 319 การทำบัญชีส่วนเฉลี่ยในกรณีที่มีเจ้าหนี้หลายคน
มาตรา 320 การคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ย
มาตรา 321 การจ่ายส่วนเฉลี่ยไปพลางก่อน
มาตรา 322 กรณีมีเงินเหลือหลังการจ่าย
มาตรา 323 เงินค้างจ่าย