ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blog คำพิพากษาฎีกา ประเด็น ภาษาเขียนที่น่าสนใจ ^^ อัพเดท 23/12/53

รูปภาพของฉัน
ปรับปรุงเพื่อทำเป็นสารบัญครับ

วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

ฎีกาน่าสนใจมาตรา 94 (จริงๆ แล้วไม่ได้กลับหลัก)

คำพิพากษาฎีกาที่ 1149/2552
---โจทก์มีหนังสือสัญญากู้ยืมที่จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ระบุว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 20,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิด แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้นเป็น 120,000 บาท ซึ่งไม่เป็นไปตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกัน แต่ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์ต้องเสียไป จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เท่าที่กู้ไปจริง

ข้อสังเกต คำพิพากษาฎีกานี้กลับหลักฎีกาที่ 1539/2548 ที่วินิจิฉัยว่า การนำสัญญากู้ยืมเงินไปกรอกจำนวนเงินกู้ในภายหลังโดยจำเลยไม่ยินยอม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยให้การรับว่าได้กู้และรับเงินกู้ไปเป็นเงิน 45,000 จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าว
---หากนำปัญหานี้ออกข้อสอบ น.ศ. ต้องตอบตามฎีกา 1149/52 ซึ่งวินิจฉัยว่า แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินให้สัญญากู้ให้สูงขึ้นเป็น 120,000 บาท แต่ก็ไม่ทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์ต้องเสียไป จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เท่าที่กู้จริง
(ที่มา ถาม-ตอบ ท.สมชาย)
เพิ่มเติม หนังสือ ท่านธานี หน้า 91 ฎีกา 1539/48 โดนกลับแล้ว (ยังไม่ได้กลับนะครับ อยากเข้าใจไปอ่านเรื่องกู้ยืม ของแพ่ง) ^^