ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blog คำพิพากษาฎีกา ประเด็น ภาษาเขียนที่น่าสนใจ ^^ อัพเดท 23/12/53

รูปภาพของฉัน
ปรับปรุงเพื่อทำเป็นสารบัญครับ

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ วิอาญา 1-2 ท่านเรวัต

วิเคราะห์ วิอาญาท่านเรวัต
จะเห็นได้ว่าคำบรรยายท่านเรวัต ครั้งที่ 6-7
มีเรื่อง น่าสนใจดังนี้
1.เปรียบเทียบปรับ มาตรา 38 กับ 144 ออกเนติไปเมื่อสมัย 57 เป็นการเขียนแนวอธิบาย อาจออกอีกได้เพราะไม่ได้มีฎีกา ครั้งที่ 6 หน้า 149-153

2.คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา มาตรา 46 น่าสนใจมาก แต่เคยออกไปเมื่อสองปีก่อน มีฎีกาปี 50 น่าสนใจ ครั้งที่ 6 หน้า 159-160 กับฎีกาปี 51 เยอะมาก สังเกตได้จากในจูริส
***สามารถแต่งโจทย์รวมกับข้อหนึ่งได้นะครับ ออกเป็น ก) ข)

3.วิธีปฏิบัติในการจับ มาตรา 83, 84 เป็นไปตามตัวบท แต่เน้นที่ 83 วรรคสาม

4.การปล่อยชั่วคราว มาตรา 106 107 108 ครั้งที่ 7 น.218 - 219

5.สำนวนการสอบสวนที่รู้ตัวผู้กระทำผิดและจับตัวได้ มาตรา 142 ครั้งที่ 7 น.227
***ประเด็นข้อ 4 กับข้อ 5 อาจจะแต่งข้อสอบไปด้วยกันได้ ผมสามารถแต่งข้อสอบได้นะ - -'' คิดไปเองหรือเปล่าก็ไม่รู้

6.หลักเรื่องคดีเดียวกันจะต้องถูกดำเนินการครั้งเดียว ครั้งที่ 7 น.228-229
***ข้อแตกต่างในชั้นศาลกับชั้นอัยการ

7.ชันสูตรพลิกศพ เป็นไปตามตัวบท

สิ่งที่ผมสนใจและน่าจะออกคือข้อ 2 กับ ข้อ 6 ลองไปดูนะครับ

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

มาตรา 18 ตรวจคำคู่ความ

มาตรา 18
ประเด็นน่าสนใจ
- กรณีตามมาตรา 18 วรรคสอง เมื่อศาลเห็นว่าคู่ความที่ยื่นต่อศาลอ่านไม่ออก อ่านไม่เข้าใจ เขียนฟุ่มเฟือยเกินไปหรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่างๆ ตามที่กฎหมายต้องการ หรือมิได้ชำระค่าธรรมไม่ถูกต้อง ศาลจะสั่งคืนคำคู่ความไปทำมาใหม่ แก้ไขเพิ่มเติมหรือชำระค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดเสียก่อน หากคู่ความไม่ปฏิบัติตาม ศาลจึงจะสั่งไม่รับคำคู่ความได้ ศาลจะสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความโดยไม่กำหนดเวลาให้คู่ความแก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องเสียก่อน เป็นการผิดขั้นตอน ศาลจึงสั่งไม่รับฟ้องหรือไม่รับคำร้องทันทีไม่ได้ (คร.1500/46) แต่ถ้าเป็นเรื่องเงินค่าธรรมเนียมที่ผู้อุทธรณ์จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งและต้องนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามมาตรา 229 หากผู้อุทธรณ์ไม่นำมาวาง ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้เลย กรณีไม่ใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18 ศาลไม่จำต้องกำหนดเวลาตามมาตรา 18 ให้ชำระก่อนที่จะสั่งไม่รับคำคู่ความ (D968/52)
- คำคู่ความไม่มีลายมือชื่อ
คำคู่ความไม่มีลายมือชื่อของผู้ยื่น ศาลอาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือสั่งให้แก้ไขข้อมูลบกพร่องดังกล่าวได้ตามมาตรา 18 วรรคสอง ถ้าปรากฏภายหลังศาลรับฟ้องแล้ว ศาลต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จะถือเป็นเหตุให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องเสียทีเดียวไม่ได้ D5556/43 ถ้าล่วงเลยมาปรากฏในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ต้องยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องแล้วพิพากษาใหม่ D5622/48
5622/2548คำให้การจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ จึงเป็นคำคู่ความที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรก ไม่ใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่แก้ไขข้อบกพร่องของคำคู่ความดังกล่าวให้บริบูรณ์เสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไปโดยที่ยังมิได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง โดยให้จำเลยลงลายมือชื่อในคำให้การเสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมายแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
- ทนายความลงลายมือชื่อในคำคู่ความโดยไม่มีอำนาจ ถือว่าเป็นกรณีที่ไม่มีลายมือชื่อของคู่ความ ชอบที่จะสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องตามมาตรา 18 วรรคสอง เสียก่อนจะสั่งไม่รับฟ้องเสียทีเดียวไม่ได้ 871/50
กรณีทนายความยื่นอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ ศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขอำนาจทนายความหรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 ก็ได้ การที่ผู้อุทธรณ์ยื่นใบแต่งทนายความที่ให้อำนาจทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์สั่งให้รับอุทธรณ์ไว้ถือว่าเป็นศาลอุทธรณ์อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว 432/42
- เมื่อศาลตรวจคำคู่ความแล้วเห็นว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขตามกฎหมาย ศาลอาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติม สั่งให้ชำระเงินค่าธรรมเนียมให้ครบถ้วน สั่งให้คืนคำคู่ความไปให้ทำมาใหม่ หรือสั่งไม่รับคำคู่ความเลยทีเดียว แต่การสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 นี้ ต้องเป็นกรณีที่ศาลมิได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำคู่ความนั้น แต่ถ้าศาลวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำคู่ความแล้ว ศาลจะสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 ไม่ได้ ศาลต้องยกฟ้องตามมาตรา 172 เช่น ศาลตรวจค้ำฟ้องแล้วเห็นว่าคำฟ้องไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้โดยไม่จำเป็นต้องสั่งรับฟ้องโจทก์ก่อนและศาลจะสั่งไม่รับฟ้องไม่ได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีหรือประเด็นแห่งคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลตามมาตรา 151 D3267/48
- เมื่อเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว ศาลชอบที่จะยกฟ้อง จะสั่งไม่รับฟ้องไม่ได้ 5630/48

อัพเดท เดือนมีนาคม

จูริส วิแพ่ง เล่ม 1 ปี 53
หน้า 60 ฎีกาที่ 5542/2548 เป็นฎีกาที่ 5562/2548 (เลขฎีกาผิด)