ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blog คำพิพากษาฎีกา ประเด็น ภาษาเขียนที่น่าสนใจ ^^ อัพเดท 23/12/53

รูปภาพของฉัน
ปรับปรุงเพื่อทำเป็นสารบัญครับ

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

คำถาม-คำตอบ จำนอง (แต่งเอง) ^^

คำถาม
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2552 แดงได้กู้ยืมเงินดำ 1 ล้านบาท โดยนำบ้านและที่ดินของตนมาจำนองประกันหนี้จำนวนเงินดังกล่าว โดยก่อนกู้ยืมเงินนั้นในที่ดินดังกล่าวแดงได้ทำสวนมะม่วงและให้ต้นญาติของตนมีสิทธิเก็บมะม่วง ต่อมาอีก 3 เดือน ดำได้ส่งจดหมายไปบอกให้แดงชำระหนี้ภายใน 1 เดือน ในระหว่าง 1 เดือนนั้น แดงจึงได้เอาบ้านไปให้ดาวเช่าเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยดาวก็ทราบว่าแดงได้จำนองบ้านไว้กับดำแล้ว พอครบกำหนด 1 เดือน ดำจึงได้ฟ้องบังคับจำนองพร้อมกับฟ้องขอให้ลบสิทธิการเช่าบ้านของดาวและสิทธิเก็บกินของต้น แดงต่อสู้ว่าดำไม่ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือ การบอกกล่าวไม่ชอบ ดำไม่มีอำนาจฟ้อง
ถามว่า
1. ดำมีสิทธิบังคับจำนองพร้อมกับฟ้องขอให้ลบสิทธิการเช่าบ้านของดาวและสิทธิเก็บกินของต้นได้หรือไม่
2. ข้อต่อสู้ของแดงฟังขึ้นหรือไม่

เฉลย
การที่แดงได้นำบ้านและที่ดินของตนมาจำนองเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 1 ล้านบาท สัญญาจำนองของแดงบังคับได้ เพราะทรัพย์สินที่แดงนำมาจำนองเป็นทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา 705 และเป็นการจำนองประกันจำนวนหนี้กู้ยืมที่มีกำหนดจำนวนแน่นอนตามมาตรา 708 การนำบ้านและที่ดินของแดงมาประกันหนี้ถือว่าเป็นการจำนองตามมาตรา 702

ดำไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ลบสิทธิการเช่าของดาว เพราะการเช่าไม่ใช่ทรัพยสิทธิหรือภาระจำยอมที่ดำผู้รับจำนองจะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิในการบังคับจำนองและขอลบสิทธิการเช่าออกจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามมาตรา 722 (D377/78)และดำก็ไม่มีสิทธิขอให้ลบสิทธิเก็บกินของต้นได้ เพราะถึงแม้ว่าสิทธิเก็บกินจะเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งที่ดำผู้รับจำนองสามารถขอเพิกถอนสิทธิเก็บกินได้ก็ตาม แต่จะต้องเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นภายหลังการจำนองเท่านั้น แต่สิทธิของต้นเกิดก่อนการนำที่ดินมาจำนอง ดังนั้น ดำจึงไม่มีสิทธิขอให้ลบสิทธิเก็บกินนี้ได้ตามมาตรา 722

การฟ้องขอให้บังคับจำนองของดำนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะการบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ใช่แบบเพื่อความสมบูรณ์ของนิติกรรม ดังนั้น แม้ดำได้มีจดหมายบอกกล่าวไปยังแดงว่าให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรก็ถือว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบตามมาตรา 728 แล้ว (เทียบเคียง D3081/45)

D377/2478 การเช่าไม่ใช่ทรัพยสิทธิหรือภาระจำยอม ผู้รับจำนองจะอ้างว่าเป็นการทำให้เสื่อมเสียสิทธิในการบังคับจำนองและขอลบสิทธิการเช่าออกจากทรัพย์สินที่จำนองตามมาตรา 722 ไม่ได้

D3081/45 โจทก์ได้มอบอำนาจด้วยวาจาให้นายสรรค์ทนายความเป็นผู้บอกกล่าวบังคับจำนองและต่อมาโจทก์ก็ได้แต่งตั้งให้นายสรรค์เป็นทนายความฟ้องร้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น ปพ.พ. มาตรา 728 ไม่ได้กำหนดว่าต้องทำตามแบบอย่างใดบ้าง ผู้รับจำนองเพียงแต่มีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันควรก็ถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับ
จำนองที่ชอบด้วยบทมาตราดังกล่าวแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่ใช่แบบเพื่อความสมบูรณ์ของนิติกรรม ดังนั้น แม้โจทก์จะมอบอำนาจให้นายสรรค์เป็นตัวแทนบอกล่าวบังคับจำนองโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือมอบอำนาจ ก็ไม่เป็นโมฆะ นอกจากนี้ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่นายสรรค์ได้กระทำการไปในนามของโจทก์โดยการฟ้องคดี ย่อมถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่ลูกหนี้โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วเช่นเดียวกัน (นอกจากนี้มีคำพิพากษาฎีกาที่ 3689/2545, 2239/2547 และ1657/2550 วินิจฉัยไว้ทำนองเดียวกัน)

(**ได้แนวคิดมาจากชีทท่านนวรัตน์ จำนอง จำนำ ชีทบรรยายเนติทบทวนวันอาทิตย์ http://www.thaibar.thaigov.net/sheet/navarat/3-52.pdf)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น